1. การสอบ ภาค ก. ใบผ่านทางสู่อาชีพข้าราชการ
ตัวอย่าง ประกาศรับสมัครสอบ ภาค ก.>>>
ลักษณะของการสอบ ภาค ก. นั้น จะเป็นการทดสอบความรู้ความสมารถทั่วไป โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มวิชาด้วยกัน คือ
1.วิชาความสามารถทั่วไป เป็นการทดสอบความสามารถด้านคิดคำนวน และ ความสามรถด้านการใช้เหตุผล
2.วิชาภาษาไทย เป็นการทดสอบความเข้าใจในภาษา และการใช้ภาษา
โดยตัวอย่างข้อสอบ ภาค ก. สามารถดูได้ที่นี่ >>>
ซึ่งหลักเกณฑ์ในการสอบผ่านภาค ก. นั้น ท่านจะต้องสอบได้คะแนนรวมของทั้ง 2 วิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของทั้งหมด และ เมื่อท่านผ่านการสอบ ภาค ก. ก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการสอบ ภาค ก. และสำนักงาน ก.พ. จะส่งหนังสือรับรองการสอบผ่าน ภาค ก. ให้ท่านทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านได้แจ้งไว้ ซึ่ง หนังสือรับรองการสอบผ่าน ภาค ก. นี้เอง ที่ท่านจะนำไปใช้สมัครสอบแข่งขันบรรจุเป็นข้าราชการของหน่วยงานราชการต่างๆ โดยสามารถใช้ได้ตลอดไป จนกว่า สำนักงาน ก.พ. จะประกาศยกเลิก
นอกเหนือจากนี้ ยังมีบางหน่วยงาน ที่จัดการสอบ ภาค ก. เอง โดยไม่ใช้การสอบภาค ก. ของสำนักงาน กพ. อยู่เหมือนกัน
2. การสอบ ภาค ข. สอบเข้ารับราชการในหน่วยงานต่างๆ
สำหรับการสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) เมื่อท่านได้ผ่านการสอบ ภาค ก. แล้ว ก็เท่่ากับว่าท่านได้รับอนุญาติให้สมัครเข้าสอบแข่งขั้นเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการของหน่วยงานราชการต่างๆได้ ซึ่งท่านต้องติดตามข่าวสารต่างๆให้ดี ว่าหน่วยงานไหนเปิดรับสมัครบ้าง ตำแหน่งใดบ้าง ซึ่งท่านจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของท่านให้ดี ว่าสามารถสมัครตำแหน่งนั้นได้หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว ดังนั้น จะขอจัดประเภทของการสอบภาค ข. เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.สำนัก กพ. เปิดสอบ ส่วนกลาง โดยประเภทนี้ สำนักงาน กพ. จะเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบภาค ข. เพื่อนำมาขึ้นบัญชีไว้ที่ส่วนกลาง ไว้ให้หน่วยงานราชการต่างๆมาขอใช้บัญชี
2.หน่วยงานราชการ เปิดสอบเอง โดยหน่วยงานราชการที่ไม่พึงประสงค์ที่จะข้อใช้บัญชี้กลางจาก สำนักงาน กพ. จะขอดำเนินการจัดสอบเอง ซึ่งมีหลากหลายมาก
สำหรับการสอบภาค ข. นั้นเป็นการสอบทางภาคทฤษฎี ซึ่งเนื้อหาการสอบจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่ท่านสมัครต่างๆกันไป เช่น ถ้าท่านสมัครนักทรัพยากรบุคคล เนื้อหาการสอบ ก็จะเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล และกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง แต่ถ้าท่านสมัครตำแหน่งอื่น เนื้อหาการสอบก็จะเปลี่ยนไปตามตำแหน่งนั้นๆ เป็นต้น
สำหรับหลักเกณฑ์ในการสอบผ่านภาค ข. นั้น ส่วนใหญ่จะยึดถือเอาที่ ร้อยละ 60 เช่นเดียวกับการสอบ ภาค ก. แต่ก็มีบางหน่วยงานเหมือนกันที่มาตรฐานสูงกว่านี้ โดยเมื่อท่านผ่านการสอบภาค ข. นี้หน่วย ท่านก็จะได้รับการเรียกตัวจากหน่วยงานนั้น เพื่อดำเนินการสอบภาค ค. (สัมภาษณ์) ต่อไป
3. การสอบ ภาค ค. ด่านสุดท้าย สำหรับการสอบ
การสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) หรือ การสัมภาษณ์ ผู้ที่ผ่านการสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) นั้นจะได้รับเรียกจากหน่วยงานนั้นๆให้เข้ารับการสอบ โดยคณะกรรมการสัมภาษณ์ที่หน่วยงานนั้นๆ จัดตั้งขึ้น โดยคำถามสัมภาษณ์จะเป็นการทดสอบความรู้ ทัศนคติ ไหวพริบ อุปนิสัย บุคลิก ว่าท่านเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆ หรือไม่ โดยคำถามสัมภาษณ์ที่แต่ละผู้สัมภาษณ์ต้องพบเจอ อาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการสัมภาษณ์
สำหรับหลักเกณฑ์ในการสอบผ่านภาค ค นั้น ส่วนใหญ่จะยึดถือเอาที่ ร้อยละ 60 เช่นเดียวกัน แต่ก็มีบางหน่วยงานเหมือนกันที่มาตรฐานสูงกว่านี้เหมือนกัน
4. ขึ้นบัญชี ผู้ผ่านการสอบคัดเลือก รอเรียกบัญชี เข้ารับการบรรจุ
เมื่อท่านผ่านการสอบคัดเลือกดังที่กล่าวมานี้ ท่านก็จะได้รับการขึ้นบัญชีเป็นผู้ผ่านการสอบคัดเลือก รอเรียกบัญชี เข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการต่อไป โดยจะเรียงลำดับจากผู้ที่ได้คะแนนสูงที่สุดลงมา ดังนั้นหากหน่วยงานที่ท่านสอบ มีตำแหน่งว่างในครั้งแรกแค่ 2 ตำแหน่ง แต่ท่านสอบได้ลำดับที่ 5 ท่านก็มีความจำเป็นจะต้องรอจนกว่าอันดับการบรรจุจะมาถึงท่าน ซึ่งจะนานหรือจะช้า ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานนั้นๆมีตำแหน่งว่างมากแค่ไหน โดยทั่วไปแล้วบัญชีเผู้ผ่านการสอบคัดเลือก จะมีอายุ 2 ปี ซึ่งถ้าเลยกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านยังไม่ได้รับการบรรจุ บัญชีของท่านจะถูกทำการยกเลิกไป เพื่อเปิดสอบใหม่ ดังนั้นลำดับการขึ้นบัญชีจึงมีความสำคัญมากๆเช่นเดียวกัน ท่านมีความจำเป็นจะแต่งสอบแข่งขั้นกับคนอื่นๆ ทำคะแนนการสอบให้ได้สูงๆ เพื่อลำดับที่ดีที่สุด
จากที่กล่าวท่ืั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ประสงค์จะสอบเข้ารับราชการ ซึ่งถือได้ว่ามีอัตราการแข่งขันสูง และเป็นงานหินพอสมควรเลยทีเดียว แต่ลิขิตฟ้า หรือจะสู้มานะตน ขอให้ทุกท่านพยายามอย่างสุดความสามารถ สักวันหนึ่ง ผลนั้นจะตอบสนองท่านได้เป็นข้าราชการดังหวังแน่นอน และก็ได้แต่หวังว่า เมื่อท่านทั้งหลายบรรจุแล้ว จะเป็นข้าราชการที่ดี ทำงานรับใช้ประชาชนอย่างใสสะอาด ไม่คดโกง เป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไปนะจ๊ะ
อยากเป็นมั่ง อยากให้ครอบครัวสบาย - -"
ตอบลบอยากเป็นมั่ง อยากให้ครอบครัวสบาย - -"
ตอบลบสอบให้ได้ครับ ไม่ยากอย่างที่คิด ^^ ผมก็พยายามสอบอยู่เหมือนกัน ตอนนี้ได้เป็น พร. ละ ต่อไปก็ภาค ก. ^^"
ลบThai-Translating ให้บริการครบวงจรด้านการแปลภาษา ครอบคลุมการแปลภาษาต่างประเทศที่หลากหลาย เช่น เอกสารทั่วไป เอกสารธุรกิจ คู่มือ เอกสารด้านวิชาการ สื่อการสอน ตำราแพทย์หรือเอกสารเฉพาะทางอื่นๆ รวมถึงสื่อมัลติมีเดียต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญในการแปลภาษาที่ใช้ในวงการธุรกิจสากลในประเทศไทย
ตอบลบการให้บริการด้านภาษาของเรา มีดังนี้ ;
• การแปล
• งานเอกสาร
• พิสูจน์อักษร
• การแก้ไขภายหลังโดยเครื่องมือการแปล
• การแปลงานด่วนและสื่อมัลติมีเดีย
• การตรวจแก้
• การสร้างเครื่องมือการแปล
• การจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
• คำบรรยายและคำบรรยายใต้ภาพแบบปิด
• การทดสอบด้านภาษา
• โบรชัวร์และใบปลิว
• นิตยสารและจดหมายข่าว
• แอปพลิเคชันมือถือ
• การอบรมและการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
www.thai-translating.com #thaitranslating #แปลภาษา